เทศบาลตำบลบ้านจั่น info_outline ข้อมูลการติดต่อ public สารคดีเฉลิมพระเกียรติราชวงศ์จักรี

เทศบาลตำบล
บ้านจั่น
อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลบ้านจั่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
image สถานที่ท่องเที่ยว
สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา หนองกลิ้ง [1 ตุลาคม 2563]
 
info_outline วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์หน่วยงาน


info_outline ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปของเทศบาล
จำนวนพนักงาน พนักงานเทศบาล จำนวน 25 คน ลูกจ้างประจำ จำนวน 5 คน พนักงานจ้าง จำนวน 54 คน รวม 84 คน จำนวนประชากร ประชากรในเขตเทศบาลตำบลบ้านจั่น ชาย 3,288 คน หญิง 3,800 คน รวมมีประชากรทั้งสิ้น 7,088 คน จำนวนครัวเรือน 3,279 ครัวเรือน โครงสร้างพื้นฐาน เทศบาลตำบลบ้านจั่น เป็นชุมชนเมือง ห่างจากจังหวัดอุดรธานี 4 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 558 กิโลเมตร มีเส้นทางคมนาคมขนส่ง ทั้งทางบกและทางอากาศที่สำคัญ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดิน - ถนนมิตรภาพ สายอุดรธานี - ขอนแก่น - ถนนวิเศษมงคล เชื่อมเทศบาล - ถนนอุดร - สกลนคร - ถนน ร.พ.ช. (อุดรธานี - หนองแสง) ด้านการไฟฟ้า ประปา เทศบาลตำบลบ้านจั่น มีไฟฟ้าใช้ทุกหลังคาเรือน ส่วนไฟฟ้าสาธารณะยังไม่ทั่วถึงเนื่องจาก มีการขยายตัวของชุมชนอย่างต่อเนื่อง การประปาใช้บริการน้ำประปาส่วนภูมิภาคยังไม่สะดวกเท่าที่ควร เนื่องจากอยู่ไกลจากระบบการจ่ายน้ำ และมีบางส่วนที่การประปายังไปไม่ถึง ต้องใช้น้ำจากแหล่งอื่น เช่น น้ำบาดาล หรือแหล่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งเป็นน้ำที่ไม่ได้ผ่านการกรองอย่างถูกวิธี เหล่งน้ำสาธารณะ เทศบาลตำบลบ้านจั่น มีเหล่งน้ำสาธารณะ 3 แหล่งคือ หนองกลิ้ง อ่างเก็บน้ำบ้านจั่น และลำห้วยน้ำขุ่นซึ่งชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้หลายทางเช่นเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์น้ำ จับสัตว์น้ำและพักผ่อน ด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม - จำนวนครัวเรือนที่มีโทรศัพท์ใช้ 2,000 ครัวเรือน - มีแม่ข่ายวิทยุสื่อสาร ชื่อศูนย์วิทยุใช้ชื่อศูนย์วิทยุดอกจาน คลื่นความถี่ 162.1225 ด้านการใช้ที่ดิน การใช้ที่ดิน มีลักษณะการขยายตัวของที่อยู่อาศัย โดยส่วนใหญ่จะอยู่สองข้างทางหลวงแผ่นดิน ส่วนที่ราบลุ่ม จะใช้ประกอบการเกษตร ประเภทต่างๆ เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ การใช้ประโยชน์ในที่ดิน ยังไม่เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากการทำการเกษตรเพียงฤดูกาลเดียวและการใช้สารเคมีช่วยในการผลิตทำให้คุณภาพดินเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น ด้านการประกอบอาชีพ 1.เกษตรกรรม ได้แก่ ทำไร่ ทำนา ทำสวน -จำนวนครัวเรือนภาคเกษตรกรรม 35 ครัวเรือน 2.การอุตสาหกรรม ได้แก่ - โรงสีข้าว จำนวน 3 แห่ง - โรงงานแปรรูปไม้ จำนวน 1 แห่ง - โรงงานผลิตวัสดุก่อสร้าง จำนวน 4 แห่ง 3.การพาณิชย์ - การบริการ ได้แก่ - สถานีบริการน้ำมัน จำนวน 4 สถานีี - สถานีบริการแก็ส จำนวน 3 แห่ง - ศูนย์บริการและจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 3 แห่ง - ร้านเกมส์ จำนวน 2 แห่ง - หอพัก จำนวน 14 แห่ง - ศูนย์จำหน่ายอาหาร จำนวน 4 แห่ง - รีสอร์ท จำนวน 1 แห่ง - ร้านค้าขนาดใหญ่ จำนวน 4 แห่ง ด้านการศึกษา ในเขตเทศบาลตำบลบ้านจั่น มีโรงเรียน จำนวน 2 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 ศูนย์ โรงเรียน 1. โรงเรียนบ้านจั่นศรีวิไล 2. โรงเรียนบ้านดงเค็ง (นำวัฒนาอุปถัมภ์) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านดงเค็ง ด้านศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีพระธรรมคำสอนของพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึด เหนี่ยวทางจิตใจ โดยมีวัด 2 แห่ง สำนักสงฆ์ 1 แห่ง 1. วัดศรีลาวรรณบ้านจั่น 2. วัดสามัคคีวนารามบ้านดงเค็ง 3.สำนักสงฆ์บ้านจั่น ประเพณี และวัฒนธรรม ประเพณีประจำท้องถิ่น ได้แก่ประเพณีสงกรานต์ ที่นิยมปฏิบัติกันทุกปี เริ่มตั้งแต่ 12-15 เมษายนของทุกปี ประเพณีบุญเบิกบ้าน ประเพณีเข้าพรรษา ประเพณีลอยกระทง และบุญกระฐินสามัคคีฯลฯ

แผนที่/อาณาเขตเทศบาล
ที่อยู่เทศบาลตำบลบ้านจั่น เลขที่ 800 ถ.พัฒนา ต.บ้านจั่น อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000 สภาพทั่วไป เทศบาลตำบลบ้านจั่น ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านจั่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 558 กิโลเมตร มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 6.97 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน ดังนี้ ตำบลบ้านจั่น ประกอบด้วย 3 หมู่บ้าน คือ 1. บ้านจั่น หมู่ที่ 1 (บางส่วน) 2. บ้านดงเค็ง หมู่ที่ 4 3. บ้านกลิ้งคำ หมู่ที่ 10 (บางส่วน) ตำบลหนองขอนกว้าง ประกอบด้วย 1 หมู่บ้าน คือ 1. บ้านเซ หมู่ที่ 3 (บางส่วน) สภาพภูมิประเทศ เทศบาลตำบลบ้านจั่น มีลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบ มีแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ 1. อ่างเก็บน้ำบ้านจั่น 2. หนองกลิ้ง 3. ลำห้วยน้ำขุ่น ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต ทิศเหนือ จดเขตเทศบาลนครอุดรธานีและองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจั่น และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองขอนกว้าง ทิศตะวันออก จดเขตเทศบาลตำบลโนนสูง-น้ำคำ จังหวัดอุดรธานี ทิศใต้ จดเขตเทศบาลตำบลโนนสูง-น้ำคำและองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจั่น ทิศตะวันตก จดเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจั่นจังหวัดอุดรธานี การประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน การพาณิชย์ และ บางส่วนขายแรงงาน สำหรับทำการเกษตรยังเหลือเล็กน้อยที่เป็นประชาชนดั้งเดิมในชุมชน รับราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน ประมาณ 40% การพาณิชย์ ประมาณ 30% เกษตรกรรม ประมาณ 10%

แผนที่แสดงอาณาเขต